รองโฆษกรัฐบาล ได้ประกาศเตือนให้มีความระมัดระวังต่อบรรดา แอปกู้เงิน หลังพบว่ามีแอปพลิเคชันปลอมระบาดเพิ่มมากขึ้น ที่จะทำการหลอกให้โอนเงินให้กับบรรดามิจฉาชีพ (20 ส.ค. 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาประกาศแจ้งเตือนถึงการระมัดระวังในการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับกู้เงิน หรือ แอปกู้เงิน ให้มากยิ่งขึ้น ภายหลังจากพบว่าในช่วงเวลานี้ได้มีการระบาดของแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้าง และหลอกล่อให้เหยื่อทำการโอนเงินให้มิจฉาชีพได้
นางสาวรัชดา ได้กล่าวไว้ว่า นอกจากสถาบันการเงินแล้ว
ปัจจุบันประชาชนนิยมกู้เงินจากช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะการกู้เงินด่วนแบบออนไลน์ตามแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันกู้เงินที่สามารถปล่อยเงินกู้ง่ายเพราะมีเงื่อนไขน้อย โอนเงินให้ได้ในทันทีซึ่งถึงจะมีรูปแบบการได้เงินที่สะดวกสบาย แต่ในทางกลับกัน แอปฯ เหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกให้เป็นหนี้ และล้วงข้อมูลเพื่อไปใช้ในทางผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนี้มีการโฆษณาชวนเชื่ออยู่มาก
ทางธนาคารแห่งประเทศไทย โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) จึงได้ออกคำแนะนำ “กู้ออนไลน์ ต้องรู้ทันโจร” เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนยื่นกู้ออนไลน์ จะได้ไม่เสี่ยงตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หรือต้องแบกภาระดอกเบี้ยสูงเกินจริง หรือการทวงถามหนี้โหด โดยก่อนจะตัดสินใจกู้ ขอให้พิจารณา ดังนี้
1. แยกแยะแอปเงินกู้ หากเป็นแอปกู้เงินถูกกฎหมายจะให้เงินกู้เต็มจำนวนและคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินที่กำหนด หากเป็นแอปเงินกู้นอกระบบ ต้องระวัง! เพราะได้เงินไม่เต็มจำนวน แต่ต้องจ่ายคืนเต็ม พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับที่สูง มีระยะเวลาชำระคืนสั้น ทวงหนี้โหดแบบข่มขู่คุกคาม ส่วนแอปเงินกู้ปลอมนั้น จะหลอกให้เราโอนเงินไปก่อน อ้างเป็นค่าใช้จ่าย และยังหลอกให้โอนเรื่อยๆ แต่สุดท้ายไม่ได้ให้กู้จริง
2. ไม่แน่ใจอย่างเพิ่งคลิก ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการก่อนและโทรติดต่อสอบถาม สามารถตรวจสอบแอปเงินกู้ ในเว็บไซต์ของแบงก์ชาติ
3. เลือกดาวน์โหลดแอปที่ปลอดภัย ป้องกันการแฝงไวรัสหรือมัลแวร์ที่จะมาล้วงข้อมูลส่วนตัว
4. อย่าลืมอ่านเงื่อนไขก่อนกู้ เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ และวิธีคืนเงินกู้
นางสาวรัชดา กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า “ขอให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลให้ดีทุกครั้งก่อนตัดสินใจกู้เงิน เพราะอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยไม่รู้ตัวแนะประชาชนเช็กความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินเจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อป้องกันไม่ให้ทุกคนต้องเป็นหนี้ท่วม และเสี่ยงกับการโดนล้วงข้อมูล”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กฤษณ์ จันทโนทก
ยังได้ชี้แจงเจตนารมณ์ในการแจกเงิน 4,000 บาท ให้พนักงาน SCB ในครั้งนี้ ผ่านทางจดหมาย ระบุหัวข้อ “สารจาก คุณกฤษณ์ เรียนเพื่อนพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ทุกท่านครับ” พร้อมใจความว่า…
“ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแจ้งข่าวดีให้เพื่อนพนักงานได้รับทราบครับ สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อันส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตโดยรวมของพนักงาน โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ
ด้วยความห่วงใยต่อเพื่อนพนักงาน และความต้องการที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อนพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าว โดยสอดคล้องกับทฤษฎีเก้าอี้ 3 ขา ที่มีพนักงานของธนาคารเป็นหัวใจสำคัญตามที่ผมได้แถลงไว้ในวัน Townhall ที่ผ่านมา
จึงได้มีมติเห็นชอบร่วมกันของคณะกรรมการธนาคาร และฝ่ายจัดการ ซึ่งได้พิจารณาเห็นสมควรจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษครั้งเดียว เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท ให้กับพนักงานธนาคารในระกับชั้น Staff และ Officer หรือ เทียบเท่า โดยจะทำการจ่ายเข้าบัญชีของพนักงาน ในวันที่ 1 กันยายน 2565 นี้
ผมขอขอบคุณเพื่อนพนักงานทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ปฏิบัติงานกันอย่างเต็มกำลังความสามารถเสมอมา และผมมีความเชื่อมั่นว่า เราจะร่วมมือกันสร้างให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของเราเป็น “ธนาคารที่ดียิ่งขึ้น” หรือ “Be A Better Back” และขอให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจในการเป็นพนักงานของธนาคารไทยพาณิชย์ครับ”
ทั้งนี้ หากท่านใดที่ทำงานในองค์กรของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สามารถรอรับเงินช่วยเหลือ 4,000 บาท ที่ทางธนาคารแจกให้ได้เร็ว ๆ นี้ได้เลย เชื่อว่าจะต้องช่วยให้ทุกท่าน ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้อย่างแน่นอน.
โรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนอาจพบได้แม้ในรายที่ไม่แสดงอาการ โดยที่โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีบริการตรวจโรคดังกล่าวเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยทางคลินิก และทำนายความเสี่ยงก่อนมีอาการในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย ณห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช ชั้น 4 อาคารศูนย์วิจัยการแพทย์ (SiMR) สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 06-1593-3242
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง